top of page

The Road To Everest

รูปภาพนักเขียน: Thai Nepal Travels & TrekThai Nepal Travels & Trek

อัปเดตเมื่อ 8 พ.ย. 2565

ทานอาหารเช้าที่กาฐมาณฑุ และนั่งรถไปทานอาหารเย็นในเขตเอเวอร์เรส

เอเวอร์เรส เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก และเป็นเส้นทางเดินป่ายอดฮิตในประเทศเนปาล การเดินทางสู่เอเวอร์เรสเบสแคมป์ ซึ่งเป็นปลายทางสุดท้ายของนักเดินป่า เริ่มจากหมู่บ้านลูกลา ซึ่งได้ฉายาว่าเป็นหมู่บ้านที่เป็นประตูสู่เอเวอร์เรส การเดินทางมายังหมู่บ้านแห่งนี้ ทำได้สองทาง คือ โดยเครื่องบินจากเมืองกาฐมาณฑุ ใช้เวลาบินประมาณ 30 นาที เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด

Lukla Airport

และโดยการใช้เวลานั่งรถ 1 วัน จากเมืองกาฐมาณฑุ ไปยัง หมู่บ้านจีรี่ และเดินต่อไปยังหมู่บ้านลูกลา ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ (จนเส้นทางจีรี่-ลูกลา กลายเป็นเส้นทางเดินป่าที่สวยงามอีกเส้นทางหนึ่ง) หรือ โดยการนั่งรถ ไปยังหมู่บ้าน ภาบลู 1 วัน และเดินต่อไปอีก 3-4 วัน จนถึงหมู่บ้านลูกลา

View of the way from Kathmandu to Jiri

มีคำถามเกิดขึ้นว่า ในเมื่อบินไปเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด แล้วทำไมไม่บินไปหล่ะคะ จะนั่งรถและเดินให้เสียแรงเสียเวลาทำไม? คุณรู้มั้ยว่า สนามบินลูกลา เป็นสนามบินที่อินดี้ที่สุด มีการยกเลิกเที่ยวบิน และดีเลย์ มากที่สุด เนื่องจากเป็นสนามบินเล็ก ต้องบินด้วยเครื่องบินเล็ก ขนาด 20 ที่นั่ง เป็นสนามบินที่ติดหนึ่งในสิบสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก เมื่อสภาพอากาศไม่ดี สนามบินแห่งนี้จะปิดทันที ทำให้นักท่องเที่ยวเจ็บช้ำน้ำใจ จากการไม่บินและทำให้ผิดแผนการเดินทางมานักต่อนักแล้ว


สถิติหยุดเที่ยวบินจากลูกลา-กาฐมาณฑุ เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย มีมากที่สุดเป็นเวลาถึงหกวันติดต่อกัน ในเดือนพฤศจิกายน 2011 มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 3,000 คนติดค้างที่ลูกลา นับเป็นปัญหาซ้ำซากทุกปี นอกจากนี้ยังเป็นเที่ยวบินที่มีราคาแพงมากด้วยเช่นกัน เข้าไปอ่านความอินดี้ของสนามบินลูกลา ได้ในบล็อกของเรานะคะ Lukla Airport the World’s Most Dangerous

Planes waiting to fly from Lukla Airport

เมื่อบินไม่ได้ ก็ต้องเดินทางด้วยรถและเดิน สำหรับเส้นทาง จีรี่-ลูกลานั้น บางคนใช้เวลาในการเดิน 8-9 วัน กันเลยทีเดียว สรุปสุดท้ายและท้ายสุดค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ในแต่ละวัน ก็น้อยกว่าค่าตั๋วเครื่องบินไม่มากนัก นี่แค่จะเดินทางไปยังประตูสู่เอเวอร์เรสเท่านั้นนะคะ ดูจะยากลำบากไปทุกทาง


แต่ในตอนนี้เรามีข่าวดี ดูเหมือนการเดินทางไปยังประตูสู่เอเวอร์เรสจะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป เมื่อประเทศเนปาลกำลังสร้างถนน ที่เป็นทางสำหรับรถวิ่งได้ ไปยังหมู่บ้านลูกลา และหมู่บ้าน เชอริขาร์กา ทำให้คำกล่าวที่ว่า “ทานข้าวเข้าที่เมืองกาฐมาณฑุ และนั่งรถไปทานข้าวเย็นในเขตเอเวอร์เรส” ดูจะเป็นจริงในอีกไม่กี่ปีนี้ (ต้องบอกว่าในอีกไม่กี่ปี เพราะการก่อสร้างในเนปาล ส่วนใหญ่จะสร้างเสร็จช้ากว่ากำหนด)

Luklla Village

ในตอนนี้เนปาลมี ถนนจากเมืองกาฐมาณฑุ ไปเมือง ภาบลู อยู่แล้วด้วยระยะทาง 277 กม. จากนั้นจะมีการตัดถนนใหม่เพิ่มอีก 77 กม. ไปยังหมู่บ้าน เชอริขาร์กา ซึ่งอยู่ด้านล่างของหมู่บ้านลูกลา ข่าวได้รายงานว่า ตอนนี้การก่อสร้างได้ดำเนินไปถึง คุมบู ปาซัง ลามู ในเขตเทศบาลที่ 1 ทางการมีเป้าหมายที่จะสร้างถนนไปถึง เขตเทศบาลที่ 2 ซึ่งหมู่บ้านลูกลาตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนี้ (ไม่ได้ถึงหมู่บ้านลูกลาเลยทีเดียว เป็นเพียงแค่เข้าเขต) ให้เสร็จภายในปีนี้ และสร้างถนนไปยัง ยังหมู่บ้าน เชอริขาร์กา ซึ่งเป็นเส้นทางอ้อม ไปบรรจบกับหมู่บ้านลูกลา มีกำหนดการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2022 ถ้าเป็นไปตามกำหนดการ ที่เป็นเช่นนี้เพื่อให้ถนนเลี่ยงต่อการเข้าเขตอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เรส ซึ่งเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก้

Map of the road to Everrest from Nepali Times

ถ้าโครงการนี้สร้างเสร็จ นักท่องเที่ยวต้องร้อง โอ้โห!!! โอ้โห!!! กันเลยทีเดียว เพราะจะเป็นอีกทางเลือก ที่ไม่ต้องทนกับความไม่แน่นอนของการบินไปลูกลาอีกแล้ว แต่อาจจะต้องเหนื่อยกับการนั่งรถถึง 14 ชั่วโมง แต่นั่นก็ไม่ทำให้แผนที่วางไว้ต้องเปลี่ยนแปลงไป เดินทางถึงภายใน 1 วันเช่นกัน และสะพานข้ามแม่น้ำ ดุดโภศรี ที่หมู่บ้าน อรแลง กาต เพื่อเชื่อมถนนไปยังภูมิภาคเอเวอร์เรส ได้เปิดทำการในวันเสาร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมาแล้วเช่นกัน

The newly constructed bridge over Dudh Koshi river at Orlang Ghat, Solukhumbu. Photo Courtesy: Khumbu Pasanglhamu Rural Municipality

จริง ๆ แล้วโครงการถนนสู่เอเวอร์เรส ได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2014 แต่ต้องหยุด ชะงักลงเนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศเนปาลในปี 2015 หลังจากที่มีการเลือกตั้งเทศบาลชนบท ในปี 2017 โครงการนี้จึงได้เริ่มใหม่อีกครั้ง การสร้างถนนให้เสร็จสมบูรณ์เป็นโครงการสัตว์เลี้ยงของอดีตประธานเทศบาลเขตชนบท คุมบู, นิม โดรเจ เชอร์ปา ซึ่งเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน 2020 เขาเชื่อว่าการเชื่อมต่อ ภาบลู กับ ลูกลา จะช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ของชาวเชอร์ปาของเขา


ชาวบ้านในเขตพื้นที่เอง ก็ได้เรียกร้องให้ก่อสร้างถนนมานานแล้ว เนื่องจากรถไม่สามารถวิ่งได้ ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ในเขตเอเวอร์เรส มีราคาแพงที่สุดในประเทศ เนื่องจากต้องนำเข้าโดยใช้เครื่องบินทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น แก๊สหุงต้ม 1 ถัง มีราคาประมาณ 15,000 เนปาลลีรูปี เนื่องจากถูกขนส่งโดยลูกหาบและล่อ นักท่องเที่ยวต้องจ่าย 300 เนปาลลีรูปี สำหรับน้ำชา 1 แก้ว หรือแม้กระทั่ง ตั๋วเครื่องบินเที่ยวเดียวสำหรับนักท่องเที่ยวสำหรับเที่ยวบิน 25 นาทีไปยัง Lukla ราคาประมาณ 180 เหรียญ ดอลลาร์สหรัฐ ค่าขนส่งทางอากาศจากกาฐมาณฑุไปยัง ลูกลา อยู่ที่ประมาณ 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 150 รูปีต่อกิโลกรัม

ํYak carry things to Everest

เนื่องจากราคาสินค้าที่แพงมาก ทำให้ชาวเนปาลทั่วไป ไม่อยากไปเที่ยวในเขตนี้ ดังนั้นการสร้างถนนในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้ราคาสินค้าลดลง ลดปัญหาเที่ยวบินลูกลา ยังเป็นการช่วยการท่องเที่ยวภายในประเทศเนปาลด้วยเช่นกัน ผู้คนจะสามารถขับรถไปยังภูมิภาคเอเวอเรสต์ ข้ามที่ราบสูงและเทือกเขาแบบพาโนรามาได้ภายในหนึ่งวันจากกาฐมาณฑุ





แต่ตามแผนการของรัฐบาล จะมีการสร้างสถานีขนส่งที่หมู่บ้านกะหรี่โขลา และจากที่นั่นจะอนุญาตให้ใช้เฉพาะยานพาหนะไฟฟ้า ถึงจะสามารถวิ่งได้ไปยังเชอริขาร์กา เพื่อให้เขตเอเวอร์เรสปลอดจากมลพิษ หลังจากที่ถนนเสร็จแล้ว รัฐบาลยังมีโครงการ สร้างกระเช้าลอยฟ้าหรือกระเช้าไฟฟ้าจาก เชอริขาร์กา ไปยัง หมู่บ้านนัมเช ที่ความสูง 3,440 เมตร ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวเชอร์ปาหรือไกด์ภูเขาส่วนใหญ่ในอนาคตอีกด้วย

Namche Bazaa Village at night

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ทุกคนใน คุมบู ที่มีความสุขกับถนน พวกเขาคิดว่ามันจะทำลายความงามอันเก่าแก่ และวัฒนธรรมที่เปราะบางของภูมิภาค ดังที่เคยเกิดขึ้นเมื่อถนนเข้าถึงส่วนอื่น ๆ ของเนปาลที่ห่างไกลในช่วงไม่กี่ปี ถนนจะเข้าสู่เขตแดนของอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เรส จากเมือง สุรเก และมันจะส่งผลกระทบในทางลบต่อวัฒนธรรม และธรรมชาติในท้องถิ่นอย่างแน่นอน แต่เนื่องจาก คุมบู อยู่ห่างไกลและต้องการถนน ทางการจึงพยายามตรวจสอบให้แน่ใจว่า EIA ได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ต่อรัฐบาล และขณะนี้กำลังหารือกันว่าจะบรรเทาความเสียหายได้อย่างไร

Galliformes Tibetan Snowcock

ไม่ว่าจะมีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือต่อต้าน รัฐบาลเนปาลก็เคาะตกลงที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อไปให้แล้วเสร็จ จากนี้ต่อไปสิ่งที่ต้องติดตามคือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ป่า และวัฒนธรรม จากนี้ต่อไปจะเป็นอย่างไร เมื่อความเจริญเข้ามาถึงเขตเอเวอร์เรส และอีกปัญหาหนึ่งที่น่าติดตาม คือปัญหาดินถล่มในช่วงหน้าฝน ดังเช่น หลายพื้นที่ในประเทศเนปาล หลังจากที่ถนนเสร็จแล้ว ปัญหานี้จะทำให้ถนนต้องทำแล้วทำอีกหรือไม่ แล้วคุณหล่ะ คิดอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่กับโครงการนี้?







 

อ้างอิงแหล่งข่าวจาก

หนังสือพิมพ์ Kathmandu Post และ Nepali Times

https://kathmandupost.com/province-no-1/2020/11/23/road-to-everest-tourists-can-breakfast-in-kathmandu-and-drive-to-khumbu-for-dinner

https://www.nepalitimes.com/here-now/nepal-building-a-highway-to-everest/

ดู 427 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Contact

100/15 Ranibari

Kathmandu, Nepal 46000

​​

Tel: +977 9841-326-314

Tel: +977 9808-272-345

info@thainepaltravels.com

Line @thainepaltravels

  • Line
  • TripAdvisor
  • Pinterest
  • Whatsapp
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter

Contact Us

Thanks for submitting!

Reg#2504/071

© 2017 by Thai Nepal Travels & Treks

bottom of page